Friday, December 13, 2024
HomeAuto Tripsเลาะเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ East – West Economic Corridor ช่วงครึ่งทางของการเดินทาง จากพิษณุโลก สู่มะละแหม่ง ปลายทางย่างกุ้ง

เลาะเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ East – West Economic Corridor ช่วงครึ่งทางของการเดินทาง จากพิษณุโลก สู่มะละแหม่ง ปลายทางย่างกุ้ง

นี่เป็นการเดินทางครั้งประวัติศาสตร์อีกครั้ง ของฝูง MAZDA SKYACTIV ที่ใช้ชื่อการเดินทางครั้งนี้ว่า East – West Economic Corridor MAZDA DNA SKYACTIV CARAVAN เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ เชื่อมการค้าจากฝั่งแปซิฟิก สู่มหาสมุทรอินเดีย โดยเริ่มจาก เมืองดานัง ประเทศเวียดนาม เข้าสู่สะหวันนะเขต ประเทศลาว ตัดผ่านประเทศไทย ด้วยทางหลวงหมายเลข 12 สู่เมืองเมียวดี และมะละแหม่ง ไปจบปลายทางที่ ย่างกุ้ง อ่าวเมาะตะมะ ประเทศเมียนม่า ออกสู่มหาสมุทรอินเดีย

กลุ่มแรกที่เดินทางจากดานัง เวียดนาม  มากว่าข้อนทาง ตามเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจสายนี้ จนถึงเมืองพิษณุโลก จากนี้ก็จะเป็นหน้าที่ของกลุ่ม 2 ที่จะสานต่อเส้นทางจากไทย ไปสู่อ่าวเมาะตะมะ ประเทศเมียนม่า ฝั่งมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งผมคือหนึ่งในผู้ร่วมเดินทางในช่วงนี้

เดินทางบนทางหลวงหมายเลข 12 จากพิษณุโลก 2 แคว สู่ด่านทางการค้าถาวร แม่สอด จังหวัดตาก ที่ติดต่อกับด่านเมียวดี เมืองเมียวดี ประเทศ

เช้าวันแรกในการเดินทางช่วงที่ 2 ของ MAZDA DNA SKYACTIV CARAVAN จากเมืองพิษณุโลก 2 แคว สู่ด่านแม่สอด การเดินทาง เรายังยึดหลัก เส้นทางหลวง หมายเลข 12 เกือบ 250 กม. ผ่านสุโขทัย เข้าสู่จังหวัดตาก ไปยังอำเภอสอด ซึ่งเส้นทางที่คดเคี้ยวไปตามเชิงเขา และยังมีบางช่วงยังมีการก่อสร้างอยู่ ก็เลยทำให้ตะกุกตะกักบาง ถนนที่ลาดชัน และคดเคี้ยว ไม่ได้ก่อปัญหาสักนิด ให้กับฝูง MAZDA SKYACTIV แม้แต่น้อยเลย ในการเดินทางโดยรวมในเมืองไทย ยังให้ความสะดวกสบายอยู่ และการปรับปรุงถนนช่วงดังกล่าว ก็เพื่อทำให้ทางหลวงหมายเลข 12 ของไทย เป็นเส้นทาง ช่วงที่ความสะดวก สบายที่สุด ของเส้นทาง East – West Economic Corridor

ขบวน MAZDA DNA SKYACTIV ถึงด่านแม่สอด ด่านพรมแดนถาวร ที่มีมูลค้าทางการค้าระหว่างไทยกับเมียนม่า สูงเป็นอันดับต้นๆของระหว่าง 2 ชาติ เราหยุดพัก เพื่ออัดอาหารเข้าท้อง กันเมาโค้งทางลงเขาในเมียวดี และเติมน้ำมันก๊าดโซฮอล์เต็มถัง ก่อนที่ จะไปบริโภคน้ำมันเบนซินฝั่งเมียนม่า ในวันต่อๆไป เราใช้เวลาในการผ่านแดนไม่มากนัก เพราะมีการเตรียมเรื่องล้วงหน้ามากก่อนหน้านี้หลายสัปดาห์ ร่วมถึงเรื่องการนำรถฝ่ายเข้าแดนเมียนม่าด้วย ตกบ่าย ขบวนก็เรื่องเดินทางจากเมียวดี เข้าสู่รัฐกะเหลี่ยง

สบายๆ ได้แค่ 30 กว่ากิโลเมตร จากนั้นเหมือนย้อนเวลากลับไป 40 ปี 2 เลน สวน ไร้ไหล่ทาง…..!

                การอัดอาหารมาเต็มท้อง ทำให้การนั่งเป็นผู้โดยสาร ในสภาพเส้นทางที่คดเคี้ยวไปตามเนินเขา ก็สามารถที่จะช่วยได้ระดับหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยนั้นคือ ระบบ G Vectoring ที่มีใน MAZDA SKYACTIV ที่จะช่วยงลดแรงบิดของเครื่องยนต์ในขณะเข้าโค้ง ทำให้ค่า G ในการเข้าโค้งลดลง

เส้นทางจากด่านเมียวดี ที่เป็นทางลงเนินลาดชั้น และคดเคี้ยวไปตามภูเขา ในช่วงแรกนี้ เป็นถนนที่มีมาตรฐานที่ดีที่เดียว และสภาพ 2 ข้างทาง เป็นแบบเมืองเหนืออย่างแท้จริง มีต้นสน 3 ใบ ขึ้นปะปนกับไม้เบญจพันธุ์ แต่ความสบายก็จบสิ้นลงเมื่อเจอกับสภาพถนนอันแท้จริงของเมียนม่า

สภาพถนนในรัฐกะเหรี่ยงมันเหมือนกับถนนในชนบทของไทยเมื่อราว 40 ปี ที่แล้ว คือเป็น 2 เลน ไหล่ทางที่มีก็เหมือนไม่มี เพราะขอบถนนสูงกว่าไหล่ทางเกือบคืบ ยางมะตอยที่ลาดไว้บนผิวถนนก็ใกล้จะหมดสภาพแล้ว และการจราจรก็ค่อนข้างจะขวักไขว่เอาการ รถทุกประเภทของเมียนม่าใช้เส้นทางนี้ทั้งหมด และนี้คือทางหลักของการเดินทางของชนชาวเมียนม่า แต่สภาพถนนเช่นนี้ กลับทำให้เราได้เห็นชีวิตความเป็นจริงของมนุษย์

พักสักหน่อย ให้หายเครียดที่ “เก๊าะกะเร็ค” มุ่งสู่ “เมาะละแหม่ง ” ตัดออกสายลองที่ “ควนดอย์

            ช่วงบ่ายแก่ๆ กึ่งหนึ่งของทาง จาก “เมียวดี” สู่เมาะละแหม่ง ขบวนขอแวะถ่ายน้ำกันสักนิด และเติมกาแฟกันซะหน่อยที่เมือง “เก๊าะกะเร็ค” หรือที่คนพม่าเรียกว่า “เก๊าะกะหรุด” เราได้เห็นไมตรีของชนชาวกะเหรี่ยง มอญ และพม่า แบบบ้านๆกันครั้งแรก เขาพูดคุยกับเราผ่านไกด์กันอย่างสนุกสนาน ทางจุดหยุดพักที่เก๊าะกะเร็ค ถึงจุดหมายก็ราวเกือบๆ 200 กม.

เรายังยึดเส้นทางสายหลัก ทางหลวงของรัฐกะเหรี่ยงไปสักระยะ เลย “ควนดอย์” ไปไม่มาก เราก็เลี้ยวซ้ายเข้าสู้ถนนสายลอง เพื่อตัดไปเข้า เมาะละแหม่ง โอ้มแม่เจ้า ทางสายลอง กับสายหลัก มันแทบไม่ต่างกัน แต่สิ่งที่เห็นคือความเขียวชะอุ่มต้นไม้ที่หนาแน่นกว่า กับทุ่งนาที่มีต้นข้าว และดงตาล ทำให้นึกถึงถนนที่เมืองเพชรบุรีเมื่อกว่า 30 ปี ที่แล้ว ผมมีความสุขกับทิวทัศน์ 2 ข้างถนนแทบนี้ มากจริงๆ

จากนั้นเราก็เข้าสู่สายหลัก เมาะละแหม่ง – พะอาน เราตัดลงทางใต้เล็กน้อย ก็เข้าสู่รัฐมอญ เราถึงเมาะละแหม่ง หรือมะละแหม่ง หรือที่คนพม่าเรียกเมืองนี้ว่า “เมาะลามไยย” ส่วนในหนังสือวรรณคดีไทยจะเรียกว่า เมาะลำเลิง เมืองนี้เป็นเมืองท่า เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 3 ของเมียนม่า เป็นเมืองปากแม่น้ำสาระวิน ที่จะออกไปสู่อ่าวเมาะตะมะ ถือว่าเป็นศูนย์กลางของรัฐมอญ และนี้คือปลายทางของ East – West Economic Corridor ที่จะส่งสินค้าออกไปสู่มหาสมุทรอินเดียได้อย่างง่ายได้ ย่ำค่ำวันนั้น เราชาวคณะ MAZDA DNA SKYACTIV ก็ได้ชมภาพพระอาทิตย์ตกแบบมีเมฆฝนบดบังทางฝั่งมหาสมุทรอินเดียเป็นครั้งแรก

 

ขึ้นเหนือ ข้ามสาระวิน เลาะเส้น R8 ทางเชื่อม เหนือ – ใต้ เมียนม่า ข้ามแม่น้ำสะโตง สู่ “พะโค” หงสาวดี

            รุ่นขึ้นวันที่ 2 ของการเดินทาง เราเดินทางขึ้นเหมือนไปตาม สานทางหลัง R8 เส้นทางที่เชื่อมเหนือ และใต้ ของประเทศเมียนม่า เช้านี้เราเจอฝนปลอยๆแต่เช้า เราออกจาก มะละแหม่ง ข้ามแม่น้ำสาระวิน ด้วยสะพานสาระวิน ที่ยาวที่สุดของประเทศเมียนม่า ที่มีความยาวกว่า 3 กม. ซึ่งสะพานนี้จะเป็นสะพานรถไฟด้วย แต่มีความยาวกว่าสะพานของรถยนต์ถึงเท่าตัว สภาพถนนเช่นเดิม เป็น 2 เลน ส่วนกัน สาย R8 ดูจะมีพื้นผิวถนนที่ดีกว่าเส้นทางที่ผ่านมาในรัฐกะเหรี่ยง แต่ตลอดเช้าวันนั้น น้ำฝนจากมหาสมุทรอินเดียก็โปรยปรายอย่างไม่หยุดยั้ง

เรามาถึงสะพานข้ามแม่น้ำ แน่นอนเรายืนดูความกว้างของแม่น้ำ และนึกย้อนกลับไปที่ “พระแสงปืนต้น” ที่สมเด็จพระนเรศร ใช้ยิงขุนพลทหารหงศาฯ สุระกำมา จนตาย จะว่าไม่แล้ว ถ้าจุดนี้คือจุดที่ยิง คงต้องมีพระกฤษฎาอภินิหารที่สูงส่งที่เดียว เพราะจุดตรงนี้ ขนาดใช้ ไรเฟิล กระสุน .338 Lapua Magnum ติดกล้อง Schmidt and Bender ยังยากเลย หรืออาจจะไม่ใช่จุดนี้ก็ได้

จากนั้นขบวนขับเลาะไปตามถนนสายเลียบคลอง ที่คนพม่ากล่าวว่า คลองเลียบถนนี้ เป็นเส้นทางลำเลียงพลของทหารหงสาวดี ออกสู่แม่น้ำสะโตง เพื่อยกพลไปเล่นศึกกับต่างอาณาจักร แน่นอนย่อมร่วมถึงอาณาจักรอโยธยา เมืองพิษณุโลก 2 แคว และกรุงศรีอยุธยาด้วย คลองสายนี้ยาวไปถึงเมื่อง “พะโค” หรือ “บาโก” หรืออาณาจักรหงสาวดีในอดีตนั้นเอง เราแวะพักท่านอาหารกลางวันที่พะโค และแน่นอนที่เราจะไม่พลาดที่จะแวะ พระราชวังบาเยงนอง หรือบุเรงนอง นั้นเอง แล้วบ่ายแก่ๆ แล้วก็เดินทาง ต่อไปยัง ย่างกุ้ง

จากพะโค ม้วนลงสู่ “ย่างกุ้ง” เมืองท่า เมืองใหญ่อันดับ 1 อดีตเมืองหลวงของเมียนม่า

            หลังจากที่เราออกจากพระราชวังบาเยงนอง ในพะโค ฝนก็กระหน่ำสุดๆ เราขับรถฝ่าสายฝนไปตลอดทาง นานนับชั่วโมง เพื่อไปยัง เมืองย่างกุ้ง หรือ “ยางโกง” เมืองท่า เมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ของเมียนมา สภาพถนนเริ่มดีขึ้นมาก มีสภาะเป็น Hi – Way มากขึ้น ในบางช่วง สลับกับทาง 2 เลย สวน แต่กว้างขึ้น และมีไหล่ทางไม่สูงนัก

แม้ฝนจะกระหน่ำตกลงมา เราก็พอที่จะทำความเร็วขึ้นได้ แล้วสภาพจราจรที่แออัดแบบเมืองใหญ่ ก็ค่อยๆเพิ่มขึ้น ขบวน MAZDA DNA SKYACTIV CARAVAN ช่วงที่ 2 ถึงที่พักไม่เย็นนัก พร้อมกับสายฝนที่ตกกระหน่ำก็ได้หยุดลง แน่นอนการมาถึงย่างกุ้ง สิ่งที่ขาดไม่ได้ นั้นก็คือ การเข้าไปสการะบูชา พระมหาเจดีย์ชเวดากอง หรือตามสำเนียงพม่าเรียกว่า ชะเวยางโกง “มหาเจดีย์ทองคำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก และนี่คือการจบภารกิจในการเดินทางของขบวน MAZDA DNA SKYACTIV CARAVAN East – West Economic Corridor ช่วงที่ 2 และเป็นการส่งต่อให้กับ กลุ่มที่ 3 ให้เดินทางต่อในช่วงที่ 3 จากย่างกุ้ง เมียนม่า กลับสู่ประเทศไทย

วินิจจัย ชลานุเคราะห์

 

   

RELATED ARTICLES

Most Popular