Sunday, December 22, 2024
HomeAuto Test(มีคลิปวีดีโอ) ทดลองขับ MG HS PHEV กับการใช้ EV Mode ที่ขับได้เกือบ 70 กม.

(มีคลิปวีดีโอ) ทดลองขับ MG HS PHEV กับการใช้ EV Mode ที่ขับได้เกือบ 70 กม.

เปิดตัวหวือหวาตลอดสำหรับรถยนต์จากค่าย MG ในครั้งนี้เป็นคิวของรถเอสยูวีพลังขับเคลื่อนแบบลูกผสมที่กับราคาค่าตัวเพียง 1.359 ล้านบาท ซึ่งนอกจากฟังค์ชั่นการใช้งานอัดแน่นเต็มคัน ความเด็ดดวงยังมาจากความประหยัด โดยใช้โหมด EV ตลอดการทดสอบ บนระยะทาง 70 กิโลเมตร รอบกรุงเทพฯ มาดูกันครับว่าเอสยูวีเสียบปลั๊กรุ่นนี้ จะเป็นที่น่าสนใจมากน้อยเพียงใด

 

ตั้งแต่เปิดตัว MG HS ในราคาสนั่นวงการด้วยค่าตัวเริ่มต้นไม่ถึง 1 ล้านบาท จนถึงรุ่นท๊อพที่จำหน่ายในราคาเพียง 1.19 ล้านบาท แน่นอนว่าถูกอกถูกใจกลุ่มลูกค้าที่กำลังมองหารถเอสยูวีไว้ตอบโจทย์การใช้งานที่มากด้วยเทคโนโลยีอันโดดเด่นกว่าคู่แข่งที่อยู่ในเซกเมนต์เดียวกัน ต่อมาด้วยระยะเวลาประมาณ 1 ปี หลังจากรถรุ่นนี้วางจำหน่ายอย่างเป็นทางการ ผุ้บริหารของค่าย MG ก็ได้ผุดโปรเจคใหม่โดยการนำระบบปลั๊กอินไฮบริดไปติดตั้งกับรถรุ่นนี้เป็นครั้งแรก

MG HS PHEV 1

รูปลักษณ์โดยรวมยังคงความเป็นสปอร์ตี้เอสยูวี ที่ไม่ต่างไปจาก MG HS สักเท่าไหร่นัก จะมีก็แต่ไฟหน้าเน้นการใช้งานจากแอลอีดีโปรเจคเตอร์ ที่มีไฟเลี้ยววิ่งแบบรถยุโรปและเดย์ไทม์ในโคมเดียวกัน พร้อมระบบเปิด-ปิด ไฟสูงอัตโนมัติ

MG HS PHEV 4

ในขณะที่ล้อแมกยังคงขนาด 18 นิ้วแต่มีลวดลายแตกต่าง รวมถึงสัญลักษณ์ PHEV บริเวณท้ายรถ และหลังคาพาโนรามิคซันรูฟขนาดใหญ่เกือบ 80% ของห้องโดยสารยังคงไว้ซึ่งสไตล์เฉพาะตัว

MG HS PHEV 5

 

เบาะนั่งยังใช้โครงเดิมในรูปแบบกึ่งบักเกทซีท แต่มาในสีใหม่นั่นคือดำด้ายแดง และขาวสลับน้ำเงิน แต่งหนัง Alcantara แบบเดียวกับรถหรูจากฝั่งยุโรป

MG HS PHEV 7

อีกหนึ่งความแตกต่างที่เพิ่มเข้ามานั่นคือปุ่มการทำงานของโหมด EV บริเวณคอนโซลเกียร์

MG HS PHEV 8

ที่เหลือเหมือนรุ่นปกติแบบยกมาทั้งกระบิ ทั้งไฟ Amblient Light ซึ่งปรับเปลี่ยนได้ถึง 64 เฉดสีและยังปรับตามโหมดการขับขี่ ทั้ง Eco Normal และ Super Sport mode

MG HS PHEV 11

 

มาตรวัดสไตล์ล้ำมีจอแสดงผลแบบ Full Visual Dashboard ขนาด 12 นิ้วที่แสดงผลของระบบเอนเตอร์เทนเมนท์ซิสเต็ม และการทำงานของระบบ Advance Driver System ในรูปแบบของภาพกราฟฟิกสีสดใส

MG HS PHEV 10

พวงมาลัยเป็นแบบท้ายตัดติดตั้งระบบมัลติฟังค์ชั่นใช้สั่งการระบบต่างๆ และจะมีปุ่มควบคุมโหมด Super Sport สีแดงสดแยกออกมาอย่างโดดเด่น และมีก้านแพดเดิลชิฟท์ แต่ไม่ได้มีไว้สำหรับปรับเปลี่ยนอัตราทดเกียร์ โดยก้านนี้ใช้เป็นตัวเพิ่มแรงหน่วงหรือที่ผู้ผลิตเรียกว่า Kers ซึ่งสามารถปรับได้ถึง 3 ระดับ

MG HS PHEV 9

จอกลาง 10 นิ้วสามารถเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนได้ทั้ง Android Auto และ Apple Carplay นอกจากนี้ยังมาพร้อมกับฟีเจอร์กล้อง Around View Camera เลือกมุมมองของภาพได้รอบคัน และใช้ในการแสดงผลระบบบันเทิง ส่วนเทคโนโลยี i-Smart ทั้ง Smart Command หรือการสั่งงานด้วยเสียง Smart Check ตรวจสอบสถานะของรถผ่านสมาร์ทโฟน Smart Connect อัพเดทเรื่องราวของความบันเทิงทั้งเพลง ข่าว ร้านอาหารดัง และล่าสุดในด้านการรายงานสภาพอากาศ

MG HS PHEV 12

ถ้ามาว่ากันด้วยเสียง ลำโพงเป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์ที่ได้รับการปรับปรุงโดยใช้ลำโพงของ BOSE ที่มาพร้อมกับซับวูฟเฟอร์ในตัว

MG HS PHEV 20

 

ขุมพลังเครื่องยนต์เบนซินเทอร์โบบล๊อคเดิม ขนาด 1.5 ลิตร ให้กำลังสูงสุด 162 แรงม้า ที่ 5,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 250 นิวตันเมตร ที่ 1,700 – 4,300 รอบ/นาที ส่วนควบมาจากมอเตอร์ไฟฟ้า Permanent Magnet Synchronous Motor พละกำลังสูงสุด 122 แรงม้า และแรงบิดสูงสุด 230 นิวตันเมตร

MG HS PHEV 14

เมื่อเครื่องยนต์ทำงานร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้า จะได้พละกำลังรวมสูงสุด 284 แรงม้า 480 นิวตันเมตร แบตเตอรี่ Lithium-ion จำนวน 6 โมดูล ขนาด 16.6 kW ถูกติดตั้งไว้ใต้พื้นห้องโดยสารพร้อมระบบระบายความร้อนแบบ Coolant สามารถแยกซ่อมแต่ละโมดูลได้

MG HS PHEV 15

สำหรับเรื่องของการชาร์จไฟ สามารถนำปลั๊กที่มากับรถอัดประจุไฟกลับเข้าแบตเตอรี่ในเวลา 5.5 ชั่วโมง แต่ถ้าเป็น Wall Charge จะทำได้เร็วขึ้นในเวลาเพียง 4 ชั่วโมงเท่านั้น หรือหากให้กำลังจากแรงหน่วง อัดประจุไฟกลับเข้าไปยังแบตเตอรี่

ระบบเกียร์เป็นแบบ Twin Clutch Sportronic เดิมทีเป็น 7 จังหวะ แต่เมื่อรวมกับที่ต้องใช้งานส่วนของมอเตอร์ฟ้าจะขยับขึ้นเป็น 10 จังหวะ แบ่งเป็นใช้งานกับเครื่องยนต์ 6 จังหวะ และมอเตอร์ไฟฟ้า 4 จังหวะ โดยใช้ชุดคลัชในห้องเกียร์ตัดต่อการทำงานเพื่อให้นุ่มนวลและตอบสนองต่อการใช้งานได้ดีที่สุด

การยึดเกาะตามแบบฉบับของ Euro Tuning Suspension ซึ่งเป็นแบบอิสระทั้ง 4 ล้อ ด้านหน้าใช้เป็นแมคเฟอร์สันสตรัท พร้อมเหล็กกันโคลง ด้านหลังเป็นแบบมัลติลิงค์พร้อมเหล็กกันโคลง นอกจากนี้ระบบเบรกจะเป็นแบบดิสเบรกทั้ง 4 ล้อด้วยเช่นกัน

ส่วนระบบความปลอดภัยที่อัดแน่นเต็มๆคัน ได้แก่
-ระบบป้องกันล้อล็อก ABS
-ระบบกระจายแรงเบรก EBD
-ระบบเสริมแรงเบรก EBA
-ระบบควบคุมการทรงตัว SCS
-ระบบควบคุมการเบรกในขณะเข้าโค้ง CBC
-ระบบควบคุมการเบรกในขณะเข้าโค้งด้วยความเร็ว XDS
-ระบบป้องกันล้อหมุนฟรี และควบคุมการลื่นไถล TCS
-ระบบช่วยการออกตัวบนทางลาดชัน HAS
-ระบบควบคุมความเร็วขณะลงทางลาดชัน HDC
-ระบบป้องกันการลื่นไถลเมื่อเกียร์ลดต่ำอย่างฉับพลัน MSR
-ระบบลดความเสี่ยงที่จะทำให้พลิกคว่ำ ARP
-ระบบสัญญาณไฟแจ้งเตือน เมื่อมีการเบรกฉุกเฉิน ESS
-ระบบตรวจสอบความผิดปกติของลมยาง TPMS
-ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติแบบแปรผัน ACC : Adaptive Cruise Control
-ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติเมื่อความเร็วต่ำ TJA
-ระบบเปิด-ปิดไฟสูงอัตโมัติ IHC
-ระบบเบรกมือไฟฟ้า EPB พร้อมระบบ Auto Vehicle Hold
-ระบบช่วยเตือนเมื่อรถเสี่ยงต่อการชนคันหน้าขณะขับขี่ FCW
-ระบบช่วยควบคุมรถให้อยู่ในเลน LKA
-ระบบช่วยเตือนเมื่อรถออกนอกเลน LDW
-ระบบช่วยควบคุมรถเมื่อรถออกนอกเลน LDP
-ระบบช่วยเตือนเมื่อต้องการเปลี่ยนเลน LCA
-ระบบช่วยเตือนมุมอับสายตา BSD
-ระบบช่วยเตือนเมื่อมีรถตัดผ่านขณะถอยหลัง RCTA
-ระบบช่วยเตือนการปิดประตู DOW
-ระบบล็อคประตูอัตโนมัติ Speed Sensing Door Lock
-ถุงลมนิรภัย 6 ตำแหน่ง (คู่หน้า-ด้านข้าง-ม่านนิรภัย)
-กล้องมองภาพรอบทิศทาง 360 องศา
-เซนเซอร์กะระยะช่วยจอดด้านหลัง 4 ตำแหน่ง

MG HS PHEV 16

 

MG HS PHEV 19

เข้าสู่การทดสอบกับกิจกรรม “1 Day 1 Liter with NEW MG HS PHEV” แต่ในครั้งนี้ขอข้ามโจทย์นี้ไป เนื่องจากอยากลองของว่า ถ้าใช้ EV MODE ที่ทางผู้ผลิตเคลมไว้ว่า ถ้าแบตเตอรี่ชาร์จเต็ม จะสามารถทำระยะทางจากการใช้งานมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นพลังงานในการขับเคลื่อนเพียงอย่างเดียวอยู่ประมาณ 63 กม. แต่เส้นทางที่ใช้ทดสอบนั้นอยู่ที่ประมาณ 70 กม. โดยมีสภาพการจราจรรอบๆกรุงเทพฯ เป็นตัวแปร

MG HS PHEV 20

การออกตัวทำได้ลื่นและเร็วขึ้น เดิมทีถ้าเป็นขุมพลังเทอร์โบ อัตราเร่ง 0-100 จะแตะ 10 วินาที แต่พอมีมอเตอร์ไฟฟ้าเข้ามาช่วย อัตราเร่งแรงขึ้นกว่าเดิมชัดเจน รวมถึงได้นน.ที่เพิ่มขึ้นจากชุดปลั๊กอินไฮบริด ทำให้ช่วงล่างนั้นแน่นและขับสบายมากยิ่งขึ้น ส่วนการระบายความร้อนของแบตเตอรี่นั้นจะใช้น้ำหล่อเย็นเป็นตัวช่วยซึ่งถูกเก็บไว้บริเวณตำแหน่งของยางอะไหล่เดิม ซึ่งถูกถอดออกและแทนที่ด้วยชุดซ่อมยาง

MG HS PHEV 13

ช่วงแรกของการทดสอบเป็นการทดลองระบบความปลอดภัยของ Adas ซึ่งประกอบไปด้วย ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติแบบแปรผัน ACC : Adaptive Cruise Control, ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติเมื่อความเร็วต่ำ TJA, ระบบเปิด-ปิดไฟสูงอัตโมัติ IHC, ระบบเบรกมือไฟฟ้า EPB พร้อมระบบ Auto Vehicle Hold,ระบบช่วยเตือนเมื่อรถเสี่ยงต่อการชนคันหน้าขณะขับขี่ FCW,ระบบช่วยควบคุมรถให้อยู่ในเลน LKA,ระบบช่วยเตือนเมื่อรถออกนอกเลน LDW,ระบบช่วยควบคุมรถเมื่อรถออกนอกเลน LDP,ระบบช่วยเตือนเมื่อต้องการเปลี่ยนเลน LCA,ระบบช่วยเตือนมุมอับสายตา BSD

MG HS PHEV 21

การทำงานของระบบทำให้การใช้งานรถคันนี้เกือบจะเป็นการขับขึกึ่งอัตโนมัติ เพราะการทำงานของ 4 ฟีเจอร์ซึ่งทำหน้าที่อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ในกรณีที่มีรถตัดหน้า ก็จะทำการเบรคให้อัตโนมัติ และถ้ารถคันหน้าเคลื่อนตัวในเวลาไม่เกิน 3 วินาที ระบบก็จะสั่งการให้เคลื่อนตัวตาม หรือแม้กระทั่งมีรถแซงจากด้านหลังก็จะมีสัญญาณเตือน

MG HS PHEV 22

สำหรับ Kers Mode รถรุ่นนี้ไม่มีสวิตช์การทำงานของระบบแยกออกมาเป็นสัดส่วน แต่สามารถใช้แป้นแพดเดิลชิฟท์ด้านหลังพวงมาลัยปรับระดับการหน่วงได้ถึง 3 ระดับ และจะทำงานร่วมกับโหมด Eco และ Normal ส่วน Sport และ Super Sport นั้นไม่สามารถทำงานร่วมกันได้

MG HS PHEV 23

แม้ว่าระบบส่งกำลังจะมีแค่เดินหน้า และถอยหลัง แต่ก็สัมผัสการตัดต่อของเกียร์ได้ เพราะชุดเกียร์มี 2 ระบบ ไว้สำหรับทำงานร่วมกับเครื่องยนต์ และมอเตอร์ไฟฟ้า

MG HS PHEV 24

หลังจากทดลองขับผ่าน 60 กม. แบตเตอรี่เหลือ 8% แต่ยังมีระยะทางเหลืออยู่ 10 กม. ไม่นานนัก เครื่องยนต์ถูกสั่งให้เปิดการทำงานอัตโนมัติ แบตเตอรี่เหลือ 0% ระยะทางที่ทำได้ 69 กม. โดยไม่ใช้การหน่วงช่วยเพื่อชาร์จ ถึงแม้ขาดระยะทางไม่ถึง 5 กม. สุดท้าย Challenge นี้ก็ไม่สำเร็จ แต่ถึงยังไงตัวเลขระยะทางที่ได้ ก็ทะลุไปจากที่ผู้ผลิตเคลมไว้อยู่ดี

MG HS PHEV 25

บทสรุปการทดสอบในครั้งนี้เกือบจะผ่านฉลุย แต่ก็สามารถทำระยะทางมากกว่าที่อีโค่สติกเกอร์เคลมไว้ ระบบที่มากับรถคันนี้พูดได้ว่า “ล้นคัน” เอาแค่ระบบเพื่อความปลอดภัยก็จัดหนักถึง 25 ระบบ ไหนจะฟีเจอร์เพื่อความบันเทิงและการใช้งานด้วยคำสั่งเสียง ซึ่งถือว่าเป็นต่อคู่แข่งในกลุ่มของรถเอสยูวีอยู่พอสมควร ทั้งนี้ ถ้ามีระบบ Kick Sensor ที่ใช้เท้าเปิดฝาท้าย จะเป็นรถที่เฟอร์เฟคที่สุดคันหนึ่งก็ว่าได้

 

 

RELATED ARTICLES

Most Popular