Friday, November 22, 2024
HomeAuto News‘มิชลิน’ ผนึกกำลัง ‘คาร์ไบโอส์’ มุ่งพัฒนายางล้อที่ยั่งยืน 100%

‘มิชลิน’ ผนึกกำลัง ‘คาร์ไบโอส์’ มุ่งพัฒนายางล้อที่ยั่งยืน 100%

มิชลิน’ ผู้นำด้านการสัญจรอย่างยั่งยืน ร่วมกับ ‘คาร์ไบโอส์’ [จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ Euronext Growth Paris โดยใช้ชื่อย่อ ALCRB] บริษัทผู้บุกเบิกโซลูชั่นอุตสาหกรรมชีวภาพใหม่ๆ เพื่อพลิกฟื้นวงจรชีวิตใหม่ให้กับโพลีเมอร์พลาสติกและโพลีเมอร์สิ่งทอ ผนึกกำลังรุกก้าวสู่การพัฒนายางล้อที่ยั่งยืน 100% โดยล่าสุด มิชลินประสบความสำเร็จในการทดสอบและนำกระบวนการรีไซเคิลขยะพลาสติกประเภท PET ด้วยเอนไซม์ของคาร์ไบโอส์ มาใช้ผลิตเส้นใยที่ทนต่อแรงดึงสูงสำหรับเสริมความแข็งแกร่งให้กับยางล้อ (High-Tenacity Tyre Fibres) ตามข้อกำหนดด้านเทคนิคของมิชลิน

การรีไซเคิลด้วยเอนไซม์: กระบวนการใหม่ระดับปฏิวัติวงการ

กระบวนการรีไซเคิลด้วยเอนไซม์ของคาร์ไบโอส์ ใช้เอนไซม์ที่สามารถทำให้โพลิเมอร์ของ PET ซึ่งเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์พลาสติกและสิ่งทอ (อาทิ ขวด ถาด ผ้าใยโพลีเอสเตอร์ ฯลฯ) แตกตัวเป็นโมเลกุลเล็กๆ นวัตกรรมนี้ช่วยให้สามารถนำขยะพลาสติกประเภท PET ทุกประเภทมารีไซเคิลซ้ำได้ไม่สิ้นสุด ทั้งยังช่วยให้สามารถผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกประเภท PET จากการรีไซเคิลได้ 100% ซึ่งสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ 100% โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีคุณภาพเช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจาก PET บริสุทธ์

การรีไซเคิล PET ด้วยเอนไซม์เพื่อนำมาใช้ในยางรถยนต์ครั้งแรกของโลก

การนำพลาสติกที่ซับซ้อน (Complex Plastics) มาผ่านกระบวนการรีไซเคิลด้วยความร้อนเชิงกล (Thermomechanical Recycling) แบบดั้งเดิมไม่ทำให้ได้ PET ประสิทธิภาพสูง ซึ่งจำเป็นต่อการใช้งานในระบบนิวเมติกส์ (Pneumatic) แต่โมโนเมอร์ที่ได้จากกระบวนการรีไซเคิลขยะพลาสติกชนิดสีและทึบแสง อาทิ ขวด ของคาร์ไบโอส์ เมื่อผ่านการแปรสภาพกลับมาเป็น PET สามารถนำมาผลิตเป็นเส้นใยที่ทนต่อแรงดึงสูงตามข้อกำหนดในการผลิตยางล้อของมิชลิน

เมื่อผ่านการแปรรูปเป็นเส้นใยด้วยเครื่องต้นแบบเดียวกัน เส้นใยคุณสมบัติพิเศษซึ่งได้จากกระบวนการรีไซเคิลดังกล่าวมีคุณภาพไม่ต่างจากเส้นใยที่ผลิตจาก PET บริสุทธิ์ โดยเส้นใยโพลีเอสเตอร์ที่ทนต่อแรงดึงสูงนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับใช้ในการผลิตยางล้อ เนื่องจากมีคุณสมบัติต้านทานการปริแตก แข็งแกร่ง และมีเสถียรภาพทางความร้อน

นิโคลัส ซีโบธ (Nicolas Seeboth) ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยโพลีเมอร์ของมิชลิน เปิดเผยว่า “เรารู้สึกภูมิใจอย่างยิ่งที่ประสบความสำเร็จในการผลิตและทดสอบเส้นใยคุณสมบัติพิเศษที่ได้จากการรีไซเคิลเพื่อนำมาใช้ในการผลิตยางล้อเป็นรายแรก เส้นใยเสริมความแข็งแกร่งดังกล่าวผลิตจากขวดพลาสติกชนิดสีที่นำมาผ่านกระบวนการรีไซเคิลด้วยเอนไซม์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของ ‘คาร์ไบโอส์’ พันธมิตรของเรา โดยเส้นใยเสริมความแข็งแกร่งไฮเทคเหล่านี้ให้ประสิทธิภาพไม่ต่างจากเส้นใยที่ผลิตจากอุตสาหกรรมน้ำมันเลย

กระบวนการรีไซเคิลด้วยเอนไซม์ของคาร์ไบโอส์ ไม่เพียงช่วยให้มิชลินเข้าใกล้เป้าหมายด้านความยั่งยืนยิ่งขึ้น แต่ยังช่วยส่งเสริมให้ยางล้อเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนอย่างแท้จริง ทั้งนี้ มิชลินตั้งเป้าที่จะผลิตยางล้อโดยใช้วัตถุดิบที่ยั่งยืน (จากทรัพยากรหมุนเวียนหรือรีไซเคิล) ให้ได้ในสัดส่วน 40% ภายในปี 2573 และ 100% ภายในปี 2593

กระบวนการรีไซเคิลของ ‘คาร์ไบโอส์’ ได้รับการยืนยันว่ามีศักยภาพที่ดี

ความสำเร็จครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในฐานะนวัตกรรมครั้งแรกในภาคอุตสาหกรรมยางล้อของโลก ทั้งยังยืนยันให้เห็นว่ากระบวนการรีไซเคิลของคาร์ไบโอส์ มีศักยภาพที่จะนำภาคอุตสาหกรรมเปลี่ยนผ่านอย่างมีความรับผิดชอบไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนอย่างยั่งยืนได้

ยอดจำหน่ายยางรถยนต์ทั่วโลกในแต่ละปีอยู่ที่ 1.6 พันล้านเส้น (ยอดรวมของผู้ผลิตยางล้อทุกค่าย) โดยเส้นใย PET ที่ใช้ในการผลิตยางล้อเหล่านี้คิดเป็นปริมาณ PET 800,000 ตันต่อปี

ในกรณีของมิชลิน ปริมาณเส้นใยคุณสมบัติพิเศษซึ่งได้จากการรีไซเคิลเพื่อนำมาใช้ผลิตยางของมิชลิน เทียบได้กับปริมาณขวดพลาสติกราว 3 พันล้านขวดต่อปี

อแลง มาร์ตี้ (Alain Marty) หัวหน้าเจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์ของคาร์ไบโอส์ กล่าวว่า “เมื่อปี 2562 คาร์ไบโอส์ ได้ประกาศความสำเร็จในการผลิตขวดพลาสติกประเภท PET จากกรดเทเรฟธาลิกบริสุทธ์ (rPTA) 100% เป็นครั้งแรก ซึ่งกรดดังกล่าวได้จากการนำขยะพลาสติกประเภท PET ที่ใช้งานแล้วมาผ่านกระบวนการรีไซเคิลด้วยเอนไซม์  ในวันนี้เราก้าวสู่ความสำเร็จอีกขั้น โดยได้ร่วมกับมิชลินแสดงให้เห็นศักยภาพของกระบวนการรีไซเคิลขยะพลาสติก PET ด้วยวิธีนี้ ซึ่งทำให้ได้ PET ที่เหมาะสำหรับใช้ผลิตเส้นใยที่มีคุณสมบัติพิเศษขั้นสูง อาทิ เส้นใยที่ใช้ในการผลิตยางมิชลิน

RELATED ARTICLES

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

Most Popular