รถแข่งปอร์เช่ 919 ไฮบริด อีโว (Porsche 919 Hybrid Evo) เจ้าของ ตำแหน่งแชมป์รายการ Le Mans สร้างสถิติใหม่ด้วยระยะเวลาต่อรอบเร็วที่สุดของสนามแข่ง Spa-Francorchamps นักแข่งทีมโรงงานปอร์เช่ Neel Jani นำพารถแข่งพลังแรงโลดแล่น ผ่านระยะทาง 7.004 กิโลเมตร รอบสนามแข่งที่ใช้ในรายการ Belgian Grand Prix ท่ามกลางความสงบของเทือกเขา Ardennes ด้วยเวลาอันเป็นสถิติ 1:41.770 นาที นักแข่งวัย 34 ปี ชาวสวิสเซอร์แลนด์รายนี้คือผู้ที่วิ่งรอบสนาม ด้วยความเร็วกว่าสถิติเดิมถึง 0.783 วินาที ตัวเลขดังกล่าวเคยเกิดขึ้นจากฝีมือของ Lewis Hamilton (สหราชอาณาจักร) หลังพวงมาลัยของรถแข่ง Mercedes F1 W07 Hybrid โดยในครั้งนั้น Hamilton สามารถทำเวลาต่อรอบได้เร็วที่สุดภายใน 1:42.553 นาที ซึ่งเขาได้สร้างสถิติไว้เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2017 และแน่นอนว่าเป็นการแข่งขันรถยนต์สูตรหนึ่งหรือ F1 ที่เขาคว้าตำแหน่งโพลไปครองได้เมื่อฤดูกาลที่ผ่านมา
ส่วน Jani สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 359 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และทำความเร็วเฉลี่ยถึง 245.61 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การวิ่งรอบที่ถูกบันทึกเป็นสถิติ เริ่มต้นขึ้นในเวลา 10:23 น. อุณหภูมิอากาศขณะนั้นอยู่ที่ 11 องศาเซลเซียส สำหรับอุณหภูมิพื้นผิวสนามอยู่ที่ 13 องศาเซลเซียส
Fritz Enzinger รองประธานกรรมการบริหาร ผู้ดูแลรับผิดขอบส่วนงาน LMP1 ของปอร์เช่ ได้กล่าวว่า “การขับที่เกิดขึ้น ในรอบนี้ คือความมหัศจรรย์อย่างหาที่เปรียบไม่ได้ ทั้งหมดนี้คือการประสานงานอย่างลงตัวระหว่างฝีไม้ลายมืออันโดด เด่นของ Neel และสุดยอดผลงานทางวิศวกรรมของเรา สถิติเวลาต่อรอบอันน่าประทับใจดังกล่าวคือบทพิสูจน์ถึง สมรรถนะที่ยอดเยี่ยมจากนวัตกรรมรถแข่งที่ล้ำสมัยที่สุดในช่วงเวลาของมัน เป้าหมายของเราคือการแสดงให้เห็นเป็นที่ ประจักษ์ถึงศักยภาพของรถแข่งปอร์เช่ 919 ไฮบริด ที่ปราศจากซึ่งพันธนาการของข้อกำหนด ต่างๆ มากมายที่ถูกจำกัดในการแข่งขัน”
หัวหน้าทีมแข่ง Andreas Seidl กล่าวเสริมต่อไปอีกว่า “ความสำเร็จที่ต่อยอดเพิ่มขึ้นในครั้งนี้เป็นผลจากการทุ่มเท ทำงานอย่างหนักของทีมงานปอร์เช่ LMP และในวันนี้สิ่งที่ได้รับคือความภูมิใจสูงสุดที่เกิดขึ้นกับบรรดาวิศวกรมือฉมัง ของเรา ไม่ใช่แค่เพียง Neel และทีมงานเท่านั้นที่เป็นหัวใจของการบรรลุเป้าหมาย นักขับทั้ง 6 รายที่ลงแข่งในรายการ LMP1 ฤดูกาล 2017 ล้วนแล้วแต่มีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์โครงการนี้ให้สำเร็จลุล่วง จุดมุ่งหมายของพวกเรา ทุกคนคือการแสดงให้เห็นว่า รถแข่งปอร์เช่ 919 ไฮบริดมีสมรรถนะที่เหนือชั้นเพียงใด เมื่อไม่มีความจำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของการแข่งขันรถยนต์ทางเรียบรายการ World Endurance Championship ดังเช่นทุกครั้งที่ลงสนาม”
ด้วยความล้ำเลิศของรถแข่ง 919 ไฮบริด ทีมแข่งปอร์เช่สามารถคว้าชัยชนะในรายการแข่งขัน Le Mans 24 ชั่วโมง ได้ติดต่อกัน 3 ฤดูกาล ตั้งแต่ปี 2015 ถึง 2017 รวมทั้งครองตำแหน่งแชมป์โลกทั้งประเภทโรงงานผู้ผลิตและ ประเภทนักขับจากการเข้าร่วมประลองความเร็วในรายการแข่งขันรถยนต์ทางเรียบระดับนานาชาติ FIA World Endurance Championship (WEC) ภายในฤดูกาลเดียวกัน
Neel Jani แสดงความคิดเห็นไว้ว่า “รถแข่ง 919 อีโว (919 Evo) สร้างผลงานได้สุดประทับใจ นี่คือรถแข่ง ที่วิ่งได้เร็วที่สุดเท่าที่ผมเคยขับมาเลยทีเดียว ประสิทธิภาพในการยึดเกาะถนนของมันนั้นได้เปิดโลกทัศน์ใหม่ให้กับผม แน่นอนว่าไม่อาจจินตนาการสิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้าจนกว่าจะได้สัมผัสมันด้วยมือตัวเอง ความเร็วอันน่าเหลือเชื่อที่ทำได้ ต่อการวิ่งหนึ่งรอบสนามของ 919 อีโว (919 Evo) ตอบสนองต่อทุกปฏิกิริยาของการขับขี่ มันช่างมีความแตกต่าง เป็นอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับการแข่งขันในรายการ WEC เราไม่เพียงแค่ไปได้รวดเร็วกว่ารถแข่ง F1 ที่คว้าตำแหน่ง โพลในฤดูกาล 2017 แต่ในวันนี้เวลาต่อรอบของเราเร็วกว่าเดิมถึง 12 วินาทีเมื่อเปรียบเทียบ กับตำแหน่ง โพลของเราเองในการแข่งขัน WEC ปีที่แล้ว! เรามีช่วงเวลา 3 วันอันน่าอัศจรรย์ที่สนาม Spa แห่งนี้ ช่วงเช้า ของวันหลังจากเริ่มต้นการวิ่งในรอบแรก ผมสามารถรับรู้ได้ถึงสมรรถนะเหนือระดับของรถแข่งคันนี้ ทีมวิศวกรทำผลงาน ของพวกเขาออกมาดีเยี่ยม ตัวรถได้รับการปรับแต่งอย่างสมบูรณ์แบบและยางมิชลิน (Michelin) ให้การตอบสนองที่เร้าใจ ต้องขอขอบคุณไปยังทีมงานปอร์เช่ทุกคนสำหรับประสบการณ์การขับขี่ที่หาจากที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว”
กฎข้อบังคับทางเทคนิคที่ได้รับการกำหนดขึ้นโดย FIA สำหรับการแข่งขันรถยนต์ทางเรียบรายการ WEC และ Le Mans ทำหน้าที่ของมันได้อย่างไม่มีที่ติในแง่มุมของการช่วยให้เกิดการแข่งขันที่สูสีระหว่างรถแข่งต้นแบบใน class 1 Le Mans hybrid prototypes ซึ่งทีมโรงงานที่เข้าร่วมประกอบด้วยอาวดี้ (Audi), ปอร์เช่ (Porsche) และโตโยต้า (Toyota) อย่างไรก็ตามยังคงมีหนึ่งคำถามที่ยังค้างคาใจ – รถแข่งปอร์เช่ 919 ไฮบริด (Porsche 919 Hybrid) จะสามารถแสดงศักยภาพออกมาได้มากแค่ไหน หากปราศจากกฎข้อบังคับที่คอยควบคุมมันเอาไว้ – จนกระทั่งบัดนี้ คำตอบได้ปรากฎขึ้นแล้ว
Stephen Mitas หัวหน้าทีมวิศวกร LMP1 ในฐานะผู้นำของโครงการ เขาได้ให้ความเห็นไว้ว่า “สำหรับพวกเรา มันคือความใฝ่ฝันในเชิงวิศวกรรมที่กลายเป็นความจริง” นายช่างชาวออสเตรเลียยังกล่าวสบทบต่อไปอีกว่า “การได้เข้า ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา ปรับปรุง และส่งรถลงแข่งขันตลอดระยะเวลา 4 ปี ทำให้ทีมงานทุกชีวิตมีความสัมพันธ์ ที่สนิทแนบแน่นกับรถแข่งคันนี้มาก เราทุกคนต่างรู้ดีว่าทุกๆ ความสำเร็จที่เกิดขึ้นกับ 919 ไฮบริด (919 Hybrid) นั้น ไม่เคยมาจากศักยภาพสูงสุดของมันเลยแม้แต่ครั้งเดียว ในความเป็นจริงแม้แต่เวอร์ชั่น อีโว (Evo) ก็ยังไม่ได้ปลดปล่อย ความสามารถออกมาจนถึงขีดสุดของเทคโนโลยีทั้งหมดที่มีอยู่ ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่เราจะหลุดพ้นจากกฎเกณฑ์และข้อ จำกัดต่างๆ รถคันนี้จะทำหน้าที่เติมเต็มความมุ่งมั่นทุ่มเท สร้างสรรค์ผลงานอันยอดเยี่ยม เพียงพอที่จะทุบทำลายสถิติ ของรถแข่ง Formula One ได้”
สำหรับการเตรียมพร้อมเพื่อทำลายสถิติความเร็วในครั้งนี้ ใช้พื้นฐานจากตัวรถที่คว้าแชมป์โลกในฤดูกาล 2017 ปรับแต่ง เพิ่มเติมด้วยแนวทางการพัฒนาที่จัดเตรียมไว้เพื่อรถที่จะลงแข่งขันในรายการ WEC ในปี 2018 แต่ยังไม่เคยลงแข่งขัน เพราะถอนตัวจากรายการเมื่อปลายปี 2017 นอกเหนือจากนี้คืออุปกรณ์เพิ่มเติมด้านอากาศพลศาสตร์ที่ผลิตขึ้นใหม่ ส่วนทางด้านชิ้นส่วนภายในระบบส่งกำลังและเครื่องยนต์ของรถแข่ง ปอร์เช่ 919 ไฮบริด อีโว ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งสิ้น
รถแข่ง 919 ได้รับการติดตั้งขุมพลังเครื่องยนต์ 4 สูบ V4 ขนาดกะทัดรัด ด้วยความจุกระบอกสูบเพียง 2.0 ลิตร พร้อมระบบอัดอากาศเทอร์โบชาร์จและระบบชาร์จพลังงานย้อนกลับที่แตกต่างกัน 2 รูปแบบ กล่าวคือพลังงานย้อนกลับ ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากระบบเบรกคู่หน้าและอีกส่วนหนึ่งได้จากระบบระบายไอเสีย เครื่องยนต์สันดาปภายในรับหน้าที่ขับ เคลื่อนล้อคู่หลังในขณะที่มอเตอร์ไฟฟ้าส่งกำลังขับเคลื่อนให้แก่ล้อคู่หน้า นั่นหมายความว่า รถแข่งคันนี้เร่งออกตัวด้วย ระบบ ขับเคลื่อน 4 ล้อ four-wheel drive พลังงานที่เกิดขึ้นพร้อม กับการปล่อยไอเสียและพลังงาน ไฟฟ้าที่เกิดขึ้น จากระบบเบรกคู่หน้า จะถูกเก็บสะสมเอาไว้ชั่วคราวในแบตเตอรี่ liquid-cooled lithium ion
กฎข้อบังคับในการแข่งขันรถยนต์ทางเรียบรายการ WEC จำกัดพลังงาน ที่ได้จากน้ำมันเชื้อเพลิงต่อการวิ่งรอบสนาม โดยการใช้ fuel flow meter ในการแข่งขันบนสนาม Spa ประจำฤดูกาล 2017 ซึ่งเป็นฤดูกาลสุดท้ายของรถแข่งปอร์เช่ 919 ไฮบริด ซึ่งใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพียง 1.784 กิโลกรัม หรือ 2.464 ลิตร เพื่อวิ่งรอบสนาม 1 รอบ โดยเครื่องยนต์สันดาปภายใน V4 เครื่องนี้สามารถสร้างพละกำลังได้สูงสุดกว่า 500 แรงม้า และเมื่อไม่มีข้อจำกัด ในการแข่งขัน หลังจากปรับเปลี่ยนโปรแกรมแต่ยังคงใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแบบเดิม (E20 ที่มีส่วนผสมของเอทานอล 20 เปอร์เซ็นต์) รถแข่งปอร์เช่ 919 ไฮบริด อีโว (Porsche 919 Hybrid Evo) ให้กำลังสูงสุดเพิ่มขึ้นเป็น 720 แรงม้า
ปริมาณของพลังงานที่ได้จากระบบชาร์จย้อนกลับทั้ง 2 รูปแบบถูกใช้ในการวิ่งบนสนาม Spa ในฤดูกาล 2017 ที่ 6.37 เมกะจูล ซึ่งเป็นค่าพลังงานที่ต่ำกว่าศักยภาพสูงสุดของรถคันนี้มาก ในระหว่างการวิ่งเพื่อทำลายสถิติสนามของ Neel Jani สามารถรื่นรมย์กับพละกำลังเต็มที่จากพลังงานกว่า 8.49 เมกะจูลส์ หรือคิดเป็นแรงม้าที่ได้จากเครื่องจักรเพิ่มขึ้นจากเดิม ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ จาก 400 เป็น 440 แรงม้า
นอกจากนี้ ทีมงานวิศวกรยังได้ปลดปล่อยขีดความสามารถด้านอากาศพลศาสตร์ของตัวรถ 919 อีโว (919 Evo) ออกมาจนถึงขีดสุดเช่นเดียวกัน ดิฟฟิวเซอร์หน้าขนาดใหญ่ชุดใหม่ที่ให้ภาพลักษณ์ไปในทิศทางเดียวกันกับปีกหลังทรงสูง ตัวใหม่ อุปกรณ์ทั้งคู่ได้รับการควบคุมผ่านระบบ actively controlled drag reduction ทำงานอัตโนมัติด้วยไฮดรอลิก เพื่อปรับเปลี่ยนตำแหน่งองศาของดิฟฟิวเซอร์หน้าและการเปิดช่องรับอากาศบนปีกหลัง และในส่วนล่างของ อีโว (Evo) ได้รับการติดตั้งครีบและสเกิร์ตข้างทรงสูง ทั้งหมดนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดด้านอากาศพลศาสตร์ เท่าที่จะสามารถทำได้ ผลลัพธ์คือแรงกดที่กระทำบนตัวรถเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 53 เปอร์เซ็นต์ และให้ประสิทธิภาพเพิ่ม ขึ้นมากกว่า 66 เปอร์เซ็นต์ (เมื่อเปรียบเทียบกับการแข่งขันรายการ 2017 Spa WEC รอบจัดอันดับ)
หลากหลายอุปกรณ์ที่ได้รับการเพิ่มเติมเพื่อเสริมสมรรถนะตัวรถให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 919 อีโว (919 Evo) ยกระดับระบบเบรกด้วย four-wheel brake-by-wire system ผสานการทำงานร่วมกับระบบควบคุมเสถียรภาพ yaw control ยิ่งไปกว่านั้น ระบบบังคับเลี้ยวและชุดปีกนกของระบบช่วงล่างทั้งด้านหน้าและด้านหลังยังได้รับการปรับเปลี่ยน ให้แข็งแกร่งกว่าเดิม สามารถรองรับสภาวะการใช้งานที่หนักหน่วงยิ่งขึ้นได้เป็นอย่างดี
หากเปรียบเทียบกับรถที่ใช้ในการแข่งขันตามปกติ น้ำหนักรถที่ยังไม่รวมของเหลวได้รับการปรับให้ลดลงจากเดิมถึง 39 กิโลกรัม เหลือเพียง 849 กิโลกรัม ตัวเลขอันน่าเหลือเชื่อนี้เกิดขึ้นจากความพยายามในการลดจำนวนชิ้นส่วนอุปกรณ์ ที่ไม่มีความจำเป็นลงให้น้อยที่สุด หลงเหลือไว้สำหรับการวิ่งอย่างเต็มกำลังเพื่อทำเวลาต่อรอบให้เร็วที่สุดเพียงรอบสนาม เดียวเท่านั้น: ระบบปรับอากาศ ใบปัดน้ำฝน เซนเซอร์ในหลายตำแหน่ง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สำหรับการแข่งขัน ระบบไฟส่องสว่างและระบบแม่แรงลมสำหรับยกรถถูกถอดออกไปจนหมด