สถานการณ์ของรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยที่มีการขยายตัวเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นกระแสตอบรับอย่างดีจากผู้บริโภคชาวไทย รวมถึงผู้ผลิตหลากค่ายที่นำเสนอรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยมียอดจดทะเบียนในไตรมาสแรกของปีอยู่ที่ 14,000 คัน และจะพุ่งไปจนแตะ 50,000 คันในช่วงสิ้นปีตามที่หลายภาคส่วนได้คาดการณ์ พอประชากรรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น สิ่งที่ต้องตามมานั่นคือสถานีเติมประจุไฟฟ้า หรือที่เรียกกันจนคุ้นหูว่า “สถานีชาร์จไฟฟ้า” และเพื่อการอำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้ ค่ายรถยนต์รวมถึงผู้ประกอบการด้านสถานีเติมประจุไฟฟ้า ได้ใช้ แอพพลิเคชั่น เป็นทางลัดในการเลือกรับบริการ แต่รูปแบบการให้บริการจะเป็นแบบไหน มีกี่แอพพลิเคชั่น สถานีให้บริการทั่วไทยมีกี่แห่ง และค่าบริการต่อหน่วยจะเสียเงินเท่าไหร่
การให้บริการปล่อยกระแสไฟของสถานีชาร์จไฟฟ้า จะมีด้วยกัน 2 แบบ คือ
Normal Charge หรือ AC Charge จ่ายไฟฟ้าแบบกระแสสลับ ปล่อยประจุไฟฟ้าได้น้อย ใช้เวลาชาร์จนานกว่าจะเต็ม โดยทั่วไปจะใช้เวลา 7-10 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสเปคของแบตเตอรี่รถยนต์แต่ละรุ่น และการปล่อยกระแสไฟจากสถานีชาร์จที่ต่างกัน
Quick Charge หรือ DC Charge หรือ จ่ายไฟฟ้ากระแสตรง ใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง แต่ก็ขึ้นอยู่กับขนาดความจุของแบตเตอรี่รถยนต์รุ่นนั้นๆ
หลักการคำนวณค่าใช้จ่ายในการชาร์จไฟแต่ละครั้ง จะคิดเป็นเงินเท่าไหร่
ในการปล่อยกระแสไฟจากสถานีบริการ ให้กำลังไฟสูงสุดที่ 8 Kwh แบตเตอรี่จุได้ 50 kW ทำระยะทางได้ 400 กิโลเมตร ระยะเวลา 1 ชม. เติมพลังงานไฟฟ้าได้ 8 kW เพราะฉะนั้น โดยถ้าต้องจุให้เต็ม 60 kW ต้องใช้เวลาถึง 7-8 ชั่วโมง
ในกรณีของสถานีบริการชาร์จไฟ ส่วนใหญ่จะเหมาจ่ายที่ราคา 50 บาทต่อ 1 ชั่วโมง ระยะเวลาในการชาร์จทั้งสิ้น 8 ชั่วโมง ค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ 400 บาท เท่ากับค่าใช้จ่ายในการใช้งานต่อกิโลเมตรจะอยู่ที่ 1 บาท ในขณะที่รถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 3-5 บาทต่อกิโลเมตร
MEA EV
เริ่มด้วยบริการของการไฟฟ้านครหลวง กับแอพลิเคชั่น (MEA EV) สามารถใช้ค้นหา และจับจองช่วงเวลาการเข้ารับบริการ รองรับทั้งการชาร์จแบบ AC และ DC ซึ่งมีจุดให้บริการทั้งสิ้น 34 สถานี 138 หัวจ่าย
อัตราค่าบริการอยู่ที่ 7.5 บาท/หน่วย ตรวจเช็คสถานีรถไฟฟ้าโปรดคลิ๊ก
PEA VOLTA
จัดทำแอพลิเคชั่นโดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ร่วมกับ PEA VOLTA นอกจากช่วยค้นหาสถานีบริการ ยังสามารถคำนวนระยะทางและเวลาด้วยระบบ GPS มีทั้งหมด 118 สถานี และภายในสิ้นปีนี้จะเพิ่มจำนวนเป็น 263 สถานี
อัตราค่าบริการ 6.90 บาท/หน่วย และ 4.50 บาท/หน่วย ตามช่วงเวลาการให้บริการ ตรวจสอบสถานีชาร์จไฟฟ้าโปรดคลิ๊ก
Elex by EGAT
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ. – EGAT) จัดตั้งแอพลิเคชั่นนี้เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานสถานีชาร์จ “EleX by EGAT” นอกจากค้นหาค้นหา จองคิว และจ่ายค่าบริการ ยังสามารถสอบถามปัญหาการใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านช่องทาง Line : @ElexaEV ให้บริการในปั๊มน้ำมัน PT เขื่อน โรงไฟฟ้า และศูนย์การเรียนรู้ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ปัจจุบันมีสถานีบริการทั้งสิ้นกว่า 50 แห่ง และจะเพิ่มเป็น 150 แห่ง ภายในสิ้นปี
อัตราค่าบริการในปั๊มน้ำมัน PT อยู่ที่ 7.5 บาท/หน่วย สำหรับในพื้นที่ กฟผ. คิดค่าบริการ 5.5 – 6.5 บาท/หน่วย ตามรูปแบบของตู้ชาร์จไฟ ตรวจเช็คพิกัดสถานีชาร์จไฟฟ้าโปรดคลิ๊ก
MG iSMART
เป็นแบรนด์แรกเริ่มที่ได้จำหน่ายรถไฟฟ้าในไทย ด้วยราคาที่ไม่สูงมาก ทำให้มีประชากรรถไฟฟ้าของค่ายนี้เต็มท้องถนน แอพลิเคชั่นนี้นอกจากจะควบคุมและสั่งการฟีเจอร์ต่างๆของรถยนต์ไฟฟ้า MG ยังสามารถตรวจสอบสถานะของแบตเตอรี่ สถานการณ์ชาร์จไฟ และ ค้นหาสถานีบริการชาร์จไฟ ซึ่งปัจจุบันมีทั้งสิ้น 150 แห่ง และจะขยายตัวต่อเนื่องไปยังโชว์รูมพร้อมศูนย์บริการ MG ทั่วประเทศ
คิดอัตราค่าบริการเพียง 7.5 บาท/หน่วย เท่านั้น ตรวจเช็คพิกัดสถานีชาร์จโปรดคลิ๊ก
EV Station PluZ
ในเครือ ปตท. ได้จัดสร้างทั้งสถานีบริการและแอพลิเคชั่นไว้รองรับประชากรรถไฟฟ้าทั่วไทย มีหัวชาร์จ 3 รูปแบบ สามารถเช็กและจองคิวเข้ารับบริการล่วงหน้า และตรวจสอบสถานะขณะชาร์จได้แบบ ปัจจุบันมีสถานีบริการมากกว่า 300 แห่ง (และจะขยายเพิ่มอีก 500 แห่งภายในปีนี้และจะเพิ่มเป็น 7,000 สถานี ในปี 2573
อัตราค่าบริการ 7.5 บาท/หน่วย และ 4.5 บาท/หน่วย และมีค่าจองบริการล่วงหน้า 20 บาท ตรวจเช็คสถานีชาร์จโปรดคลิ๊ก
on|ion by Arun+
อรุณพลัส (Arun+) หนึ่งในผู้นำด้านธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าครบวงจรใน กลุ่ม ปตท. ทั้งยังมีบริการเช่ารถไฟฟ้าหลากแบรนด์ รวมถึงให้บริการจำหน่ายและติดตั้ง EV Charger ในที่พักอาศัยโดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ โดยเน้นพื้นที่ศูนย์การค้าและย่านที่พักอาศัย ผู้ใช้สามารถควบคุมการใช้งานผ่าน on-ion Mobile Application เช็กสถานะและรายละเอียดต่าง ๆ ของจุดชาร์จนั้น ๆ ทั้งหัวชาร์จ เวลาเปิด-ปิด อัตราค่าบริการ หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ และสามารถกดจ่ายเงินผ่านแอปฯ ได้ทันที ปัจจุบันมีจำนวนสถานีทั้งสิ้น 45 แห่ง
อัตราค่าบริการ คิดแบบเหมาจ่าย ชั่วโมงละ 60 บาท ตรวจเช็คสถานีชาร์จโปรดคลิ๊ก
EA Anywhere
จัดทำโดย บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) สามารถเข้ารับบริการได้ทั้งรถยนต์ไฟฟ้า และ รถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด พื้นที่ให้บริการส่วนใหญ่จะอยู่ในกทม. ปัจจุบันมีจำนวนมีสถานีบริการทั้งสิ้นกว่า 500 สถานี
อัตราค่าบริการ DC Charger 6.50 บาท – 7.50 บาท/หน่วย ส่วนแบบ AC Charger คิดเป็นรายชั่วโมง 1 ชม. 50 บาท 2 ชม. 80 บาท 3 ชม. 110 บาท และ 4 ชม. 150 บาท ตรวจเช็คสถานีชาร์จโปรดคลิ๊ก
Evolt
ภาคเอกชนรายนี้ นอกจากจำหน่ายและติดตั้งอุปกรณ์ชาร์จไฟฟ้ารถยนต์แบบครบวงจร รวมถึงเป็นพันธมิตรกับค่ายรถยนต์หลายแบรนด์ ทั้งยังมีแอพลิเคชั่นที่สร้างเพื่อสำรวจสถานีบริการกว่า 200 แห่ง รวมถึงควบคุมและสั่งการชาร์จไฟฟ้าผ่านแอพลิเคชั่นดังกล่าว รวมถึงศูนย์ช่วยเหลือคอยให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
คิดอัตราค่าบริการ 8-10 บาท/หน่วย ตามช่วงเวลาการเข้ารับบริการ ตรวจเช็คสถานีชาร์จโปรดคลิ๊ก
SHARGE
แอพพลิเคชั่นของบริษัท ชาร์จ แมเนจเม้นท์ จำกัด ปัจจุบันมีสถานีให้บริการมากกว่า 600 แห่ง แต่มีแผนเพิ่มสถานีบริการเป็น 300,000 แห่งในปี 2568 และตั้งเป้าไว้ที่ 700,000 แห่งในปี 2573 และยังสามารถเชื่อมต่อกับแอพลิเคชั่นของพันธมิตรอีกมากมาย
อัตราค่าบริการ จะแยกออกเป็นแบบ Quick Charge 8bfmuj 7.5 บาท/หน่วย แต่ถ้าเป็นแบบ AC คิดค่าบริการชั่วโมงละ 50 บาท ตรวจเช็คสถานีชาร์จโปรดคลิ๊ก
แอพพลิเคชั่นที่ได้รับความนิยมซึ่งได้จัดทำเป็นรายงานพิเศษพอจะสรุปได้ว่ามีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของสถานีบริการขาร์จไฟฟ้าเพื่อรองรับประชากรรถยนต์ไฟฟ้าแพร่กระจายทั่วประเทศไทย เพียงแต่ปัจจุบันอาจจะไม่สามารถขับรถเข้ารับบริการได้ทันทีเหมือนรูปแบบของสถานีบริการน้ำมัน และจะสะดวกกว่ามากถ้ามีการจองเพื่อรับบริการตามวันและเวลาที่เจ้าของรถสะดวก เท่ากับว่าการเดินทางไกล ก็ควรวางแผนเพื่อหาสถานีชาร์จไฟฟ้าระหว่างการเดินทาง ส่วนของกรุงเทพ ปริมณฑล และ หัวเมืองใหญ่ๆ ปัจจุบันยังคงพบเห็นสถานีบริก่ารเหล่านี้ได้อย่างหนาตา
แอพพลิเคชั่นต่างๆที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้น รองรับการเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนทั้งในรูปแบบของ IOS และ Android Auto