ในเดือนพฤษภาคมปี 2514 หลังจากที่ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น ได้ทำการก่อตั้งขึ้นไม่นาน ได้ทำการส่งมอบรถยนต์พลังงานไฟฟ้าไทพ์อี12 ในรูปแบบมินิกาแวน (Minica Van) จำนวน 10 คันให้แก่ โตเกียว อิเล็กทริค ซึ่งรถดังกล่าวพัฒนาขึ้นจากรถมินิกา แวน รุ่นมาตรฐาน ขับเคลื่อนด้วยแบตเตอรี่แบบชาร์จไฟได้และสามารถทำความเร็วได้ 80 กม.ต่อชม. ไม่เพียงเท่านั้น มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ยังได้เดินหน้านำเสนอรถยนต์พลังงานไฟฟ้าซึ่งพัฒนาขึ้นบนพื้นฐานของ มินิกา แวน (Minica Van) มินิแค็บ แวน (Minicab Van) กระบะมินิแค็บ (Minicab Truck) และเดลิกา แวน (Delica Van) ให้แก่บริษัทพลังงานไฟฟ้าต่างๆ ซึ่งเป็นการปูพื้นฐานสู่การบุกเบิกตลาดและก้าวสู่ตำแหน่งผู้นำรถยนต์พลังงานไฟฟ้าของ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส
จากการดำเนินการวิจัยพัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยีดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลากว่า 4 ทศวรรษ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส จึงได้ทำการเปิดตัว มิตซูบิชิ ไอ มีฟ (Mitsubishi i-MiEV) รถยนต์พลังงานไฟฟ้ารุ่นแรกของโลกที่จำหน่ายในเชิงพาณิชย์ มิตซูบิชิ ไอ มีฟ ขับเคลื่อนโดยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ สามารถคว้ารางวัล “รถยนต์ที่มีนวัตกรรมเทคโนโลยีดีเด่น” (Most Advanced Technology) จากการประกาศรางวัลรถยอดเยี่ยมแห่งปี 2552 – 2553 ของญี่ปุ่น (2009-2010 Car of the Year Japan) พร้อมกับกวาดรางวัลอื่นๆ อีกมากมาย
ในช่วงเวลาเดียวกัน มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ได้เริ่มดำเนินการโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านรถยนต์พลังงานไฟฟ้าผสานเข้ากับประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการพัฒนารถออฟโรดและรถอเนกประสงค์ระดับตำนาน ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาในเมืองโอกาซากิ ใกล้กับจังหวัดนาโงย่า เพื่อพัฒนารถอเนกประสงค์เอสยูวีปลั๊กอินไฮบริดที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ โดยได้มีการนำข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากเทคโนโลยีของ มิตซูบิชิ ไอ มีฟ ซึ่งรวมถึงระบบปฏิบัติการที่ล้ำสมัย “มีฟ โอเอส” (MiEV OS) พัฒนาต่อยอดขึ้นเป็นยนตรกรรมต้นแบบ มิตซูบิชิ คอนเซ็ปต์ พีเอ็กซ์ มีฟ (Mitsubishi Concept PX-MiEV) เผยโฉมครั้งแรกในโลกที่ โตเกียว มอเตอร์โชว์ ปี 2552 และตามมาด้วย มิตซูบิชิ คอนเซปต์ พีเอ็กซ์ มีฟ 2 (Mitsubishi Concept PX-MiEV II)
ขณะเดียวกันก็ได้ดำเนินการทดสอบระบบขับเคลื่อนแบบปลั๊กอินไฮบริดหรือพีเอชอีวีที่ติดตั้งในรถอเนกประสงค์ มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ เจนเนอเรชั่นที่สอง เป็นระยะทางหลายแสนกิโลเมตรอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งถึงงานปารีส มอเตอร์โชว์ ในปี 2555 โครงการดังกล่าวก็ได้รับการเปิดเผย เมื่อ มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี (Mitsubishi Outlander PHEV) ถูกเปิดตัวเป็นครั้งแรกของโลก ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีมอเตอร์คู่ โดดเด่นและเหนือกว่าเทคโนโลยีระบบปลั๊กอินไฮบริดของคู่แข่งอื่นๆ ด้วยโครงสร้างระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า (คันเร่งไฟฟ้าและไม่มีชุดเกียร์) แทนที่จะเป็นการติดตั้งแบตเตอรี่และมอเตอร์บนรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในที่มีอยู่เดิม
อีกหนึ่งหัวใจสำคัญของ มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี คือเทคโนโลยีระบบขับเคลื่อน Super-All Wheel Control (S-AWC) อันเป็นเอกลักษณ์ของ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ระบบขับเคลื่อน S-AWC พัฒนาขึ้นจากเทคโนโลยีระบบขับเลื่อน 4 ล้อ ที่มีพัฒนาการมาอย่างยาวนานกว่า 80 ปี S-AWC ควบคุมการขับขี่และแรงเบรกของแต่ละล้อผ่านการกระจายแรงบิดระหว่างล้อหน้าและล้อหลัง รวมถึงล้อซ้ายและล้อขวา มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี ไม่ใช้เพลากลางแบบดั้งเดิม แต่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าสองตัว ติดตั้งที่ด้านหน้าและด้านหลัง เพื่อส่งเสริมการทำงานของระบบขับเคลื่อน S-AWC
มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี มาพร้อมโหมดการขับขี่ 3 รูปแบบ คือ โหมด “EV” ที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าและพลังงานจากแบตเตอรี่เท่านั้น โหมด “Series Hybrid” ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่องยนต์ทำหน้าที่เป็นแหล่งกำเนิดพลังงาน และโหมด “Parallel Hybrid” ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์และมีมอเตอร์ช่วยทำงาน เทคโนโลยีการขับเคลื่อนทั้งหมดมอบอัตราเร่งที่ต่อเนื่อง เงียบและมีคุณภาพการขับขี่ที่เหนือชั้น
มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี สามารถชาร์จไฟฟ้าได้ 2 ประเภท คือการชาร์จไฟฟ้าปกติด้วยระบบไฟ 230V 10A ใช้เวลา 5.5 ชั่วโมงสำหรับการชาร์จไฟให้เต็มแบบปกติ ขณะที่การชาร์จไฟแบบควิกชาร์จ (CHAdeMO) ใช้เวลา 25 นาทีสำหรับการชาร์จไฟให้ถึงระดับร้อยละ 80* (*) สำหรับรุ่นที่จำหน่ายในยุโรป
ล่าสุดได้เปิดตัว มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี ใหม่ ที่งาน เจนีวา อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ปี 2561 โดยรุ่นล่าสุดนี้โดดเด่นด้วยกันชนหน้าดีไซน์ใหม่ รวมไปถึงส่วนของกระจัง ไฟหน้า กันชนหลัง และล้ออัลลอย พร้อมความประณีตอีกขั้นของภายในห้องโดยสาร พร้อมกันนี้เทคโนโลยีระบบปลั๊กอินไฮบริดยังได้รับการยกระดับด้วยเครื่องยนต์ขนาด 2.4 ลิตร แบบ Atkinson Cycle ที่เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าและการทำงานของมอเตอร์หลังให้มีกำกลังมากขึ้น อีกทั้งยั้งมีการเพิ่มประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ และพัฒนาระบบการขับเคลื่อน 4 ล้อ S-AWC ที่มีเทคโนโลยีมอเตอร์คู่ให้มีศักยภาพสูงขึ้น นอกจากนี้ยังเพิ่มอีกสองโหมดการขับขี่ใหม่ คือ ”Sport” และ ”Snow” ขณะที่การกระจายแรงบิดล้อหน้าและล้อหลัง ตลอดจนการควบคุมมอเตอร์หน้าและหลังยังได้รับการพัฒนาให้ตอบสนองได้ดียิ่งขึ้น
ทั้งนี้เทคโนโลยีปลั๊กอินไฮบริดของ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ได้แสดงให้เห็นถึงความก้าวล้ำซึ่งพลิกโฉมการใช้งานยานยนต์ได้อย่างแท้จริง โดยนอกจากจะเป็นเทคโนโลยีการขับขี่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังตอบโจทย์ต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมได้แม้ขณะจอด ด้วยฟังก์ชั่นชาร์จและปล่อยประจุไฟฟ้า มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี จึงสามารถจ่ายพลังงานไฟฟ้าสู่บ้านเรือน (V2H) และกลับคืนสู่โครงข่ายไฟฟ้า (V2G) ได้อีกด้วย โดยการจ่ายพลังงานไฟฟ้าดังกล่าวสามารถช่วยลดการใช้ไฟฟ้าในช่วงที่มีความต้องการไฟฟ้าสูง และยังช่วยลดค่าไฟฟ้าในครัวเรือนอีกด้วย
ที่งาน เจนีวา อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ปี 2562 มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น ได้นำเสนอ เดนโด ไดร์ฟ เฮาส์ (DENDO DRIVE HOUSE) นวัตกรรมเพื่อการใช้พลังงานไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยี V2X ที่ใช้พาหนะเป็นแหล่งจ่ายพลังงานได้สำหรับทุกสิ่ง ทั้งนี้ กลยุทธ์การพัฒนาเทคโนโลยียนตรกรรมไฟฟ้าของ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส นอกจากจะขับเคลื่อนแรงบันดาลใจให้ผู้คนได้มุ่งสู่ความสำเร็จใหม่ๆ ในชีวิตแล้ว เทคโนโลยีอันก้าวล้ำยังครอบคลุมถึงการใช้ชีวิตอย่างครบวงจร ตั้งแต่การเพิ่มประสิทธิภาพให้ขับขี่ได้เป็นระยะทางที่ไกลยิ่งขึ้น ตลอดจนนำมาซึ่งความยั่งยืนด้านพลังงานสำหรับที่พักอาศัยและชุมชนอีกด้วย